ประวัติความเป็นมาของสมาคมไม้เก่า

  • ปีพ.ศ. 2529 – พ.ศ. 2549
    การค้าไม้เก่าและผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้เก่าคึกคัก และเป็นฟันเฟืองหลักสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือ แต่หลังจากปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา กิจการค้าไม้เก่า ในพื้นที่ภาคเหนือเริ่มซบเซาผู้ประกอบการจำนวนมากต้องปิดกิจการ ทั้งจากปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและปัญหาอื่น ๆ รวมไปถึง ปัญหาความชัดเจนในแนวทางการปฏิบัติตามระเบียบข้อกำหนดหมายและการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการไม้เก่าๆทั้งการนำเคลื่อนย้าย การแปรรูปและการค้า ทำให้เกิดปัญหาการคอรัปชั่น การเรียกรับสินบน ซึ่งซึ่งยังคงมีอยู่เสมอและ ไม่ลดลงตามสะภาพเศรษฐกิจ
  • ปีพ.ศ. 2549 เป็นต้นมา
    กิจการค้าไม้เก่าในพื้นที่ภาคเหนือเริ่มซบเซาผู้ประกอบการจำนวนมากต้องปิดกิจการ ทั้งจากปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและปัญหาความชัดเจนในแนวทางการปฏิบัติตามระเบียบข้อกำหนดหมายและการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าที่เกี่ยวข้องกับกิจการไม้เก่า
    ทั้งการนำเคลื่อนย้ายไม้เก่า การแปรรูปและการค้าไม้เก่า
  • ในปีพ.ศ. 2560
    สถาบันป่าไม้ยุโรป (European Forest Institute : EFI) ได้เข้ามาทำงานโครงการ MSMEs ในพื้นที่ภาคเหนือและเลือกพื้นที่จังหวังลำพูนเป็นกรณีศึกษาสำหรับไม้เก่าและทำให้รู้จัก กระบวนการจัดทำข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจระหว่างประเทศไทยกับสหภาพยุโรป (Thai – EU FLEGT VPA) ที่ประเทศไทยกำลังอยู่ระหว่างกระบวนการเจรจากับสหภาพยุโรป จึงคิดว่ากระบวนการ FLEGT VPA จะเป็นความหวังครั้งใหม่ของผู้ประกอบการไม้เก่าในพื้นที่ ที่จะเป็นกระบอกเสียงแทนผู้ประกอบการไม้เก่าทั่วประเทศ ช่วยสะท้อนปัญหาและอุปสรรคที่เผชิญอยู่ และเป็นช่องทางส่งข้อมูลข่าวสารไปถึงผู้มีอำนาจในการกำหนดกฎหมายและนโยบาย
  • ในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2562
    ระหว่างการดำเนินโครงการ MSMEs ทำให้กลุ่มผู้ประกอบการเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการรวมกลุ่มเพื่อเป็นตัวแทนของกลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่ จึงได้มีการจัดตั้งสมาคมไม้เก่า (Reclaimed Timber Association : RTA ) ขึ้น
  • ในปี พ.ศ. 2563
    ไม้เก่าได้รับการบรรจุให้เป็นหนึ่งในแหล่งของไม้ภายใต้ การควบคุมห่วงโซ่อุปทานไม้ (Supply Chain Control: SCC) ของประเทศไทยและเป็นของระบบประกันความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ของประเทศไทย (Thai Timber Legality Assurance System: THA-TLAS) รวมถึงการกำหนดนิยามของไม้เก่า ในนิยามความถูกต้องตามกฎหมาย (Legality Definition: LD) ต่อมาคณะทำงาน AHWG จึงมีมติให้พัฒนาแนวทางการควบคุมห่วงโซ่อุปทานไม้เก่าและผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้เก่าและแต่งตั้งให้สมาคมไม้เก่าเป็นหน้าหน้าคณะทำงานกลุ่มย่อยไม้เก่า ( Reclaimed Timber Sub Working Group: RT SWG )
  • ปัจจุบัน พ.ศ. 2564
    สมาคมได้มีการจัดทำแผนยุธศาสตร์ โดยมุ่งเน้นการให้บริการแก่สมาชิกซึ่งส่วนใหญ่เป็น MSMEs ทั้งในด้านการพัฒนาศักยภาพการประกอบกิจการและการผลิตและการประกอบกิจการอย่างถูกต้องตามกฎหมายรวมไปถึงเป็นตัวแทนของผู้ประกอบการในเวทีทางด้านกฎหมายและนโนบาย ทั้งในประเทศและระดับสากล